วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ความเสี่ยงเล่นหุ้น ต่อไปต้องถอดเงื่อนไขปัจจัยแล้วเล่นง่ายขึ้น




        ความเสี่ยง....(เฉพาะการเล่นหุ้น) คือ การที่เอาเงินของเราไปซื้อหุ้น แล้วต้องขายในราคาที่ขาดทุนในเวลาต่อมา จะเห็นว่ามันมีองค์ประกอบหลายอย่าง เสียแล้ว ดังนี้
1....ต้องเอาเงิน (ไม่ใช่สิ่งของ ไม่ใช่เศษกระดาษ ไม่ใช่มูลค่าทดแทนอื่น ๆ เช่น เอาค่ารักษา ค่าแรง ฯลฯ)
2.....เป็นเงินของเรา หมายถึง เงินที่เราหามา กู้มา เรามีสิทธิ์ เป็นทรัพย์ส่วนตัวอย่างหนึ่ง (ไม่ใช่เงินคนอื่น ไม่ใช่เงินเก็บตก หรือหยิบตกมาฟรี ๆ )
3.....ไปซื้อหุ้น หมายว่าต้องซื้อหุ้น หรือสินค้าใด ๆที่ขายในตลาดหุ้น เฃ่นวอแร้นท์ หรือคัพเวอร์วอแร้นท์ (ถ้าไม่ซื้อหุ้นก็ไม่เข้าข่าย)
4.....ต้องขาย หมายความว่า ต้องขาย ถ้าไม่ขายก็ไม่นับ การขายจะมีผลตามมาคือ ได้เงินส่วนที่ขายคืนมา แต่จะเท่าส่วนที่ซื้อหรือไม่ เราจะเรียกว่า กำไร และขาดทุน ตราบเท่าที่ไม่ขาย ก็ไม่นับปิดบัญชี ไม่นับว่าเสี่ยงแล้ว แต่มูลค่าอาจดูแล้วใจหาย หรือดีใจตื่นเต้น
5.....ในเวลาต่อมา หมายความว่า ต้องหลังจากซื้อก่อน (บ้านเราไม่มีให้ขายก่อนซื้อคืนทีหลัง) จึงขายได้ จึงเกิดปัจจัยของเวลามาเกี่ยวข้อง เช่นซื้อแล้วถืออยู่ 10 วันก็ขาย ถือ 10 ปี ค่อยขาย เวลาจึงต้องนำมาคิดและมีความสำคัญมาก ๆ จนคนเล่นส่วนใหญ่ไม่สนใจ(เพราะมองข้ามมิติเวลา) ขนาดการดูกราฟทุกเครื่องมือยังต้องมีมิติเวลา มิเช่นนั้นกราฟจะวิ่งขึ้นวิ่งลงเป็นเส้นดิ่งแนวตั้ง ดูไม่รู้เรื่อง
     
  ทีนี้ก็ลองเอาองค์ประกอบความเสี่ยง มาตั้งและสร้างเงื่อนไข ก็จะเห็นคำว่า เสี่ยง ชัดเจนขึ้น เช่น
ก....เงิน เป็นของคนอื่น ก็จะรู้สึกเสี่ยงน้อยลง ยกเว้นเอาเงินของคนที่เกี่ยวข้องกับเรามาเล่น เช่น เงินของภรรยา เงินของพ่อ อย่างงี้ก็ถือว่า เอามาเสี่ยง มันให้ผลกระทบทางใจมาก ๆ แล้วก็จะเข้าสู่การทำใจ การทำจิตให้สงบสู้ความเสี่ยงไหวไม่ไหว ต่อจากนั้นก็จะสั่งให้จิตใจทำงานโดยไม่ตรองละเอียด รีบร้อนตัดสินใจ เป็นต้น
ข.....ถ้ามีเงิน แต่ไม่ซื้อ หรือขายเอากำไรแล้ว มีเงินแล้ว แต่ไม่ซื้อ ความเสี่ยงก็หายไปทันที แต่หากขายขาดทุนเอาเงินมาเก็บ แล้วไม่ซื้อ ก็รู้สึกเสี่ยงเสียโอกาส กลัวตกรถ สารพัดกลัว (เรื่องความกลัว ความกล้า วันหน้าคุยกันว่า อะไรสร้างสรร อะไรทำลาย แค่ไหน)
ค.....ซื้อแล้วก็ต้องขาย การขายมีเรื่องคิดหลายข้อ ขายแล้วขาดทุน ขายตอนไหน ขายแล้วหุ้นลงก็ดี ขายแล้วหุ้นขึ้น ทำไงดี เวลาจึงเป็นเรื่องใหญ่ เพราะมันแสดงถึงค่าของโอกาส แล้วโยงไปสู่ว่าเสี่ยงไหม แค่ไหน 


       จริงๆ คำว่าเสี่ยงมีความลึกซึ้งมากกว่านี้
การแก้ปัญหาและลดความเสี่ยง ต้องอาศัยหลายรูปแบบ ทั้งหลักการคิด กลยุทธ การตัดสินใจ การยอมรับค่าเสี่ยงที่สู้ไหว การcutloss เป็นกลยุทธ แต่คนที่ชำนาญจนทำประจำ บอกได้ว่าโอกาสเจ๊งหุ้นมีมากว่ากำไรถึง 80 -90% ทำไงจึงลดการคัดขาดทุน ให้เหลือน้อยครั้งที่สุด นั่นคือกลยุทธสำคัญ การซื้อถัวก็เป็นการลดเสี่ยง แต่ต้องมีเงินเยอะมาก การขาดทุนจากต้นทุนเดิมกี่ % ต้องใช้เงินซื้อถัว เป็นจำนวนเท่าของค่า % เช่น ใช้เงิน 10000 บาท(หนึ่งหมื่นบาท)ซื้อหุ้น ต่อมาขาดทุน 800 บาท เท่ากับขาดทุน 8 % ต้องใช้เงิน 8 เท่าของทุน เดิม (10000 คูณ 8 เท่ากับ 80000 บาท) เพื่อมาซื้อ ณ ราคาที่ขายแล้วขาดทุนน้อยมากๆ หรือไม่ขาดทุนแค่เสมอทุน ยิ่งขาดทุนมาก การใช้เงินทุนใหม่มาช่วยพยุงการซื้อถัวจะมากขึ้นทวีคุณ การลดความเสี่ยงอีกแบบคือ การใช้เวลา ตามที่คุณอยากเชือกชอบมาโพสว่า ใช้เวลาเป็นตัวละลายความเสี่ยง บางทีถือ 2 เดือนถึงเสมอทุน บางทีก็ 6 ปี แต่เวลายิ่งมากยิ่งทำร้ายจิดใจมาก สำหรับคนเงินน้อย ผมจึงไม่ค่อยสนับสนุนการถือขาดทุนรอ ๆ นาน ๆ อย่างเลื่อนลอย เป็นการฝากความหวังกับความไม่แน่นอน ปล่อยให้เวลาเป็นตัวทำงาน ยิ่งถือว่าพวกนี้คือนักพนันเวลา ยกเว้นคนที่ถือหุ้นมีกำลังแล้วยังรอให้กำไรเพิ่มต่อไป อย่างงี้เวลาจะมีค่ากว่า เวลาของการรอเสมอทุน ดังนั้นใครก็ตามที่ถือหุ้น ณ ปัจจุบันยังขาดทุน แล้วมาบอกว่าเป็นนักลงทุนนั้น ถือว่าพูดโกหกไม่จริงใจ ผมอนุโลมให้ไม่ควรถือหุ้นที่ขาดทุนต่ำเกิน 8 ช่องราคาปัจจุบัน หรือต่ำกว่าราคาทุน 4 – 5 % ไม่ว่าจะเป็นหุ้นประเภทใด เพราะต้นทุนคือ เงินธนบัตรที่มาจากกระเป๋าเรา ตอนเริ่มต้นไม่มีแบ่งธนบัตรว่า เป็นธนบัตรเพื่อการขาดทุนมาก ๆ ก่อนค่อยกำไรทีหลัง   เมื่อเรารู้ว่า ความเสี่ยงคืออะไร เราก็ต้องรีบหาวิธีลดความเสี่ยง ศึกษากลยุทธการลงมือ ศึกษาธรรมชาติของหุ้นแต่ละตัว ดูฤกษ์ยามการลงมือ (ไม่ใช่หาฤกษ์แบบหมอดู แต่ใครจะลองวิธีนั้นก็ไม่ห้าม เพราะเป็นเงินของตัวท่านเอง) timing เป็นเรื่องสำคัญพอสมควร





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น