วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

คนเล่นหุ้นที่รวยที่สุดในโลก ...



         วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีชื่อเต็มว่า วอร์เรน เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์ เขาเกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 1930 (ค.ศ. 1930) ที่เมืองโอแมฮา ในรัฐเนแบรสกา พ่อของเขาชื่อโฮเวิร์ด บัฟเฟตต์ เป็นวุฒิสมาชิกสังกัดพรรครีพับลิกัน และยังเป็น Stock Broker อีกด้วย ส่วนมารดาของเขามีชื่อว่าไลล่า บัฟเฟตต์ เขามีพี่น้องอยู่ 2 คน คือดอริส และเบอร์ตี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบหมกมุ่นกับตัวเลขตั้งแต่อายุยังน้อย และมีความจำอันดีเลิศ เขาสามารถจดจำจำนวนประชากรของเมืองใหญ่ในสหรัฐได้อย่างมากมาย

       ความร่ำรวยส่วนใหญ่ของเขานั้นสั่งสมในบริษัทเบิร์กเชียร์แฮทเวย์ ซึ่งมีผลกำไรหลากหลายนับจากธุรกิจการประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ พลังงานและการเช่าเครื่องบิน และบริษัทเบอร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ของเขาไม่มีสินค้าอะไรเลย ไม่มีการขายสินค้า ไม่มีการผลิตการบริการใดๆ รายได้จำนวนมากมายมหาศาล ทั้งหมดมาจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับฉายาว่าเป็นนักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลก เขาสามารถเพิ่มราคาหุ้นกองทุน Berkshire ของเขาถึง 3600 เท่า และเน้นย้ำเฉพาะการลงทุนแบบ Value Investor เท่านั้น

หุ้นของเบอร์กไชร์นั้นจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก และเป็นหุ้นตัวใหญ่ที่แปลกประหลาด นอกจากไม่มีการผลิตสินค้าและบริการใดๆ เลย ซื้อขายหุ้นอย่างเดียว ยังเป็นหุ้นที่ไม่เคยมีการจ่ายปันผลมาหลายสิบปี ทั้งๆ ที่มีกำไรมหาศาลทุกปี ทำให้บริษัทมีสินทรัพย์มากขึ้นเรื่อยๆ ราคาหุ้นของเบอร์กไชร์ทะลุหลักล้านบาทไปแล้ว คนที่ถือหุ้นบริษัทเขาตั้งแต่วันแรก ก็ยังถือมาจนถึงปัจจุบัน พวกเขาเชื่อในตัวบัฟเฟตต์มากๆ หุ้นบริษัทเขาจึงมีสภาพคล่องต่ำมาก ซึ่งเป็นผลดีกับกิจการ เนื่องจากจะไม่มีคนที่เล่นหุ้นวันต่อวันมาป่วนราคา บริษัทของเขาจะเลือกลงทุนในหุ้นในกิจการที่เยี่ยมยอดเพียงไม่กี่ตัว โดยซื้อเมื่อตอนราคาถูกและยุติธรรม แล้วเก็บไว้ให้นานที่สุด หรือเก็บไปตลอดชีวิตเลย

สำหรับพอร์ทการลงทุนของเขาจะมีแต่กิจการที่ดีของโลก เช่น บริษัทโค้ก ยิลเลท ดิสนีย์แลนด์ เป็นต้น หุ้นที่เขาจะซื้อ จะต้องมีพื้นฐานกิจการที่ดี และเขาจะต้องรู้จักและเข้าใจว่ากิจการสามารถสร้างรายได้มาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น หุ้นกลุ่มไฮเทค จะไม่ได้รับความสนใจจากเขาเลย แม้แต่ไมโครซอฟต์ เพราะเขาบอกว่า ถ้าเขาไม่รู้ว่าอีก 5-10 ปีข้างหน้า บริษัทนั้นจะเป็นอย่างไร เขาก็จะไม่ซื้อหุ้นบริษัทนั้น ซึ่งหุ้นไฮเทคจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก จึงไม่อยู่ในข่ายลงทุน

สิ่งที่บัฟเฟตต์ยึดถือในการลงทุน นอกจากคุณค่าของกิจการแล้วคือ ผู้บริหารต้องมีความซื่อสัตย์ ยึดผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยเป็นหลัก ฉะนั้นการบริหารงานของบัฟเฟตต์จึงทำอย่างโปร่งใส และยึดถือประโยชน์ของทุกคนเป็นที่ตั้ง เขาไม่เคยเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นการบริจาคเงินของบริษัท

หลักการเลือกลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์:
1. เป็นธุรกิจหรือบริษัทที่ไม่ซับซ้อน กิจการประเภทง่ายๆ ไม่วุ่นวายนี้ จะสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องใช้เทคนิคบุคคลากรพิเศษมากมายนัก
2. เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมแข็งแกร่ง เช่นมียี่ห้อหรือตราสินค้าที่แข็งแกร่ง มีการบริการเป็นพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้
3. สามารถคาดเดาได้ คือสามารถคาดเดาผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากการที่ไม่ซับซ้อนของธุรกิจนี่เอง
4. ผลตอบแทนจากส่วนของเงินลงทุนสูง (ROE) อย่างน้อย 12 %
5. มีกระแสเงินสดที่ดี
6. มีผู้บริหารที่ดี เห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ธุรกิจที่ดี มีธรรมชาติของธุรกิจที่ดี

จากการศึกษาวอร์เรน บัฟเฟตต์ เขาให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจ 5 กลุ่มด้วยกัน คือ
1) ธุรกิจเครื่องดื่ม เช่น โค้ก
2) กลุ่มการเงินที่เกี่ยวกับรายย่อย เช่น บริษัทอเมริกันเอ็กเพรส
3) กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
4) กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารของแคลิฟอร์เนีย
5) หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น